ด่วน!ติวเข้มข้อสอบ(เพิ่มเติม)

วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สรุปอัตราว่างสอบท้องถิ่น56-57 ทุกศูนย์ ทุกตำแหน่ง


             สรุปอัตราว่าง สอบท้องถิ่น 2556 ทุกศูนย์สอบ ทุกตำแหน่ง

สวัสดีครับทุกท่าน ก่อนอื่น ผม อ.นเรศ สีละมัย ต้องขอบคุณข้อมูลจาก กรมส่งเสริมปกครองท้องถิ่นครับ

วันนี้ผมได้ นำอัตราว่างที่เปิดสอบท้องถิ่น มาให้ทุกๆ ท่านได้รับชม และก็วิเคราะห์พิจารณา เพื่อเป็นทางเลือกในการเดินทางไปรับสมัครสอบ นะครับ คิดว่าคงจะเป็นแนวทางในการได้เป็นอย่างดี

สำหรับการรับสมัครสอบนั้น 
เริ่มตั้งแต่ วันที่ 4 - 26 ธันวาคม 2556
โดยเป็นการสมัครสอบทางอินเทอร์เน็ต
ที่เว็บไซต์ http://www.dlaapplicant.com/Login.htm?mode=index

สรุปโดยรวม ข้อมูลอัตราว่างและตำแหน่งในการเปิดสอบนั้น เป็นดังนี้

1) อัตราว่างที่เปิดสอบ..........ทั้งหมด จำนวน 7,170 อัตรา
2) ตำแหน่งที่เปิดสอบ...........ทั้งหมด จำนวน  54 ตำแหน่ง
3) ศูนย์สอบ ทั้ง 10 ศูนย์ นั้น มีจำนวนอัตราว่าง ดังนี้
     (1) ภาคเหนือ เขต 1 ...........................เปิดสอบทั้งหมด 562 อัตรา
     (2) ภาคเหนือ เขต 2 ...........................เปิดสอบทั้งหมด 628 อัตรา
     (3) ภาคกลาง เขต 1 ...........................เปิดสอบทั้งหมด 665 อัตรา
     (4) ภาคกลาง เขต 2 ...........................เปิดสอบทั้งหมด 1,279 อัตรา
     (5) ภาคกลาง เขต 3 ...........................เปิดสอบทั้งหมด 741 อัตรา
     (6) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 1.....เปิดสอบทั้งหมด 638 อัตรา
     (7) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 2.....เปิดสอบทั้งหมด 388 อัตรา
     (8) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 3.....เปิดสอบทั้งหมด 720 อัตรา
     (9) ภาคใต้ เขต 1  ...............................เปิดสอบทั้งหมด 827 อัตรา
     (10) ภาคใต้ เขต 2  .............................เปิดสอบทั้งหมด 722 อัตรา

ดูภาพประกอบได้เลยครับ 






ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://www.kruwandee.com/news-id8384.html

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ติวเข้มข้อสอบท้องถิ่น56 - 57(ตอน9)

ติวเข้มข้อสอบท้องถิ่นปี 56 - 57(ตอนที่ 9)

สวัสดีครับทุกท่าน ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ บทความที่นำเสนอการ ติวเข้มข้อสอบท้องถิ่น ปี 56 - 57 ในตอนที่ 9 กันนะครับ



สำหรับบทความนี้ ผมก็มี VDO มาฝากท่านเหมือนเคยครับ พร้อมแล้ว ก็คลิกดู VDO ได้เลยครับ




เป็นไงกันบ้างครับ ท่านไม่ต้องซีเรียสนะครับว่า บทความนี้ไม่ได้พาท่านเจาะลึกการสอบ แต่วัตถุประสงค์ของผม คือ การปูพื้นฐานที่ถูกต้อง ในการเตรียมตัวสอบ หรือเตรียมตัวติวเข้มทำข้อสอบอย่างถูกทิศทางนั่นเอง

ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอะไร ศรัทธาจะนำมาซึ่งความสำเร็จเสมอ..

อ.นเรศ สีละมัย

ท่านสามารถเรียนรู้วิธีการหาเงินล้านหรือความรู้อื่นๆที่จำเป็นผ่านช่องทางดังต่อไปนี้


 

ติวเข้มข้อสอบท้องถิ่น56 - 57(ตอน8)

ติวเข้มข้อสอบท้องถิ่นปี 56 - 57(ตอนที่ 8)

สวัสดีครับทุกท่าน ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ บทความที่นำเสนอการ ติวเข้มข้อสอบท้องถิ่น ปี 56 - 57 ในตอนที่  กันนะครับ

สำหรับบทความนี้ ผมก็มี VDO มาฝากท่านเหมือนเคยครับ พร้อมแล้ว ก็คลิกดู VDO ได้เลยครับ




เป็นไงกันบ้างครับ ท่านไม่ต้องซีเรียสนะครับว่า บทความนี้ไม่ได้พาท่านเจาะลึกการสอบ แต่วัตถุประสงค์ของผม คือ การปูพื้นฐานที่ถูกต้อง ในการเตรียมตัวสอบ หรือเตรียมตัวติวเข้มทำข้อสอบอย่างถูกทิศทางนั่นเอง

ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอะไร ศรัทธาจะนำมาซึ่งความสำเร็จเสมอ..

อ.นเรศ สีละมัย

ท่านสามารถเรียนรู้วิธีการหาเงินล้านหรือความรู้อื่นๆที่จำเป็นผ่านช่องทางดังต่อไปนี้


 

ติวเข้มข้อสอบท้องถิ่น56 - 57(ตอน7)

ติวเข้มข้อสอบท้องถิ่นปี 56 - 57(ตอนที่ 7)

สวัสดีครับทุกท่าน ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ บทความที่นำเสนอการ ติวเข้มข้อสอบท้องถิ่น ปี 56 - 57 ในตอนที่ 7 กันนะครับ

สำหรับบทความนี้ ผมก็มี VDO มาฝากท่านเหมือนเคยครับ พร้อมแล้ว ก็คลิกดู VDO ได้เลยครับ




เป็นไงกันบ้างครับ ท่านไม่ต้องซีเรียสนะครับว่า บทความนี้ไม่ได้พาท่านเจาะลึกการสอบ แต่วัตถุประสงค์ของผม คือ การปูพื้นฐานที่ถูกต้อง ในการเตรียมตัวสอบ หรือเตรียมตัวติวเข้มทำข้อสอบอย่างถูกทิศทางนั่นเอง

ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอะไร ศรัทธาจะนำมาซึ่งความสำเร็จเสมอ..

อ.นเรศ สีละมัย

ท่านสามารถเรียนรู้วิธีการหาเงินล้านหรือความรู้อื่นๆที่จำเป็นผ่านช่องทางดังต่อไปนี้


 

ติวเข้มข้อสอบท้องถิ่น56 - 57(ตอน6)

ติวเข้มข้อสอบท้องถิ่นปี 56 - 57(ตอนที่ 6)

สวัสดีครับทุกท่าน ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ บทความที่นำเสนอการ ติวเข้มข้อสอบท้องถิ่น ปี 56 - 57 ในตอนที่ 6 กันนะครับ

ในบทความที่ผ่านมา ท่านได้เรียนรู้กระบวนการที่สำคัญที่จะทำให้ทุกท่านประสบความสำเร็จกันไปแล้ว ซึ่งมีอยู่ 5 ขั้นตอนหลัก คือ

     ขั้นตอนที่ 1 : ตั้งเป้าหมาย

     ขั้นตอนที่ 2 : เตรียมความพร้อม

     ขั้นตอนที่ 3 : วางแผนอย่างเป็นระบบ

     ขั้นตอนที่ 4 : ลงมือทำอย่างเป็นระบบ

     ขั้นตอนที่ 5 : ตรวจสอบ/ปรับปรุง/แก้ไข/พัฒนา

ซึ่งหลายๆท่าน คงได้ร่วมตั้งเป้าหมายตามที่ผมได้แนะนำไว้ ซึ่งเริ่มจากข้อความที่สำคัญ 4 ประโยค คือ

- ฉันกำลังจะเป็นข้าราชการในการสอบครั้งนี้
- ฉันกำลังมุ่งหน้าไปสู่การเป็นข้าราชการในการสอบครั้งนี้
- ฉันมีความพร้อมทุกอย่างที่จะเป็นข้าราชการในการสอบครั้งนี้
- ฉันเป็นข้าราชการในการสอบครั้งนี้แล้วฉันจะทำหน้าที่อย่างดีที่สุดเพื่อตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน

ทั้ง 4 ประโยคที่ผมยกมานี้ ผมเข้าใจว่าท่านคงจะ "เขียนมันติดไว้ในทุกๆที่ที่ท่านมองเห็นได้ทุกวันทุกเวลา" แล้ว

พร้อมทั้งได้เตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ เช่น


ข้อที่ 1 : เตรียมพร้อม ด้าน เงินทุน


ข้อที่ 2 : เตรียมพร้อม ด้าน เวลา


ข้อที่ 3 : เตรียมพร้อม ด้าน แรงงาน


ข้อที่ 4 : เตรียมพร้อม ด้าน แรงใจ

จาก นั้น ท่านก็ได้เรียนรู้ ขั้นตอนที่  3 แห่งความสำเร็จ ซึ่งก็คือ การวางแผนอย่างเป็นระบบ โดยใช้กระบวนการ PDCA ซึ่งเป็นกระบวนการแห่งความสำเร็จ
P = Plan คือ การวางแผน
D = Do คือ การลงมือทำ
C = Check คือ การตรวจสอบ
A = Action คือ การปรับปรุง/พัฒนา

จากนั้น ผมได้พูดถึงขั้นตอนที่สำคัญที่สุด คือ การลงมือทำหรือ
ขั้นตอนที่ 4 : การลงมือทำอย่างเป็นระบบ


ซึ่งเป็นตัวตัดสินความสำเร็จหรือความล้มเหลวของกระบวนการวางแผน หมายความว่า ถ้าท่านวางแผนมาอย่างดี กระบวนการลงมือทำ มันก็จะเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่มีการสะดุดใดๆทั้งสิ้น สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ "ท่านต้องมีการยืดหยุ่นในการลงมือทำแต่ยึดมั่นในเป้าหมาย"

ดังนั้น วันนี้ ผมจะพูดขึ้นขั้นตอนสุดท้าย คือ การตรวจสอบ/ปรับปรุง/แก้ไข/พัฒนา

ขั้นตอนที่ 5 : การตรวจสอบ/ปรับปรุง/แก้ไข/พัฒนา

ซึ่งเป็นขั้นตอนที่บ่งบอกว่า "ท่าน เดินทางไปถูกทิศทางหรือไม่?" และเป็นสิ่งจำเป็นต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของท่าน

ถ้าท่านไม่มีระบบตรวจสอบ "ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่า ท่านอยู่จุดไหน? ท่านกำลังไปที่ไหน? และท่านไปถึงจุดหมายปลายทางรึยัง?"

ดังนั้น ในขั้นตอนที่ 5 นี้ จึงเป็นขั้นตอนที่ท่านต้องสรุปผลลัพธ์ออกมาว่า...

- แผนการของท่านสมบูรณ์แบบหรือต้องปรับปรุงแก้ไข?

- การลงมือทำของท่านมีผลลัพธ์ออกมาเป็นเช่นไร?

- การลงมือทำของท่าน มันขาดขั้นตอนอะไรหรือไม่?

- การลงมือทำของท่าน ต้องปรับปรุง แก้ไขในด้านใดบ้าง?

- การลงมือทำของท่าน ต้องมีการพัฒนาในด้านไหน?

...................

สิ่งที่จะเป็นตัวตรวจสอบได้ดีที่สุด คือ "ตัวชี้วัด"

เช่น  แผนการของท่าน  แบบบันทึกของท่าน ฯลฯ

"ไม่ว่าผลลัพธ์มันจะเป็นยังไงมันต้องมีร่องรอยของการลงมือทำเสมอ"

แน่นอนว่า ถ้าท่านไม่ได้ลงมือทำอะไร มันก็จะไม่มีร่องรอยให้ท่านได้ตรวจสอบ...

ในเมื่อท่านได้ออกแบบระบบขึ้นมาตรวจสอบแล้ว ท่านต้องใช้มันให้เป็นประโยชน์มากที่สุด!

ไม่งั้นที่สิ่งท่่านเตรียมมา มันก็ไม่เกิดผลลัพธ์ใดๆ

สรุปได้ว่า ในขั้นตอนที่ 5 นี้ "จะเป็นตัวบ่งบอกผลลัพธ์จากการลงมือทำของท่าน"

ผลที่ได้มันจะออกมาในรูปแบบต่างๆ คือ

- สมบูรณ์แบบ พร้อมที่จะพัฒนาเป็นระบบที่สมบูรณ์

- ไม่สมบูรณ์แบบ ต้องปรับปรุง/แก้ไข

ไม่ว่าผลมันจะเป็นยังไง แต่เป้าหมายของท่านก็ยังคงอยู่ สิ่งที่จะต้องทำการปรับปรุง/พัฒนา คือ ขั้นตอนที่ 3 และ ขั้นตอนที่ 4 คือ "การวางแผน และ การลงมือทำ"

กล่าวคือ ถ้ามันไม่ดี ไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ท่านต้องการ ก็วางแผนใหม่ และลงมือทำใหม่!

มันเป็นขั้นตอนง่ายแค่นี้

สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ "ท่านต้องไม่ล้มเลิก"

เมื่อไหร่ที่ท่านล้มเลิก เท่ากับว่า "ท่านแพ้" และจะ "แพ้ไปตลอดกาล....."

อีกอย่างที่จะฝากไว้คือ ในขั้นตอนที่ 5 นี้ ไม่ได้ตรวจสอบเฉพาะขั้นตอนสุดท้าย แต่เป็นการตรวจสอบในทุกๆขั้นตอนของการลงมือทำ  และเป็นการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง

"ไม่ใช่รอผลสอบ แล้วค่อยมาตรวจสอบ หรือมาสรุป ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้น แสดงว่าผิดอย่างไม่น่าให้อภัย!"

ที่สำคัญที่สุด คือ "ท่านต้องประเมินตามสภาพจริง" ห้ามเอนเอียงเข้าข้างตัวเองเป็นอันขาด

ถ้าท่านไม่ได้ทำ ท่านก็ต้องรายงานว่า ท่านไม่ได้ทำ! อย่าหลอกตัวเองเป็นอันขาด!



สำหรับบทความนี้ ผมก็มี VDO มาฝากท่านเหมือนเคยครับ พร้อมแล้ว ก็คลิกดู VDO ได้เลยครับ




เป็นไงกันบ้างครับ ท่านไม่ต้องซีเรียสนะครับว่า บทความนี้ไม่ได้พาท่านเจาะลึกการสอบ แต่วัตถุประสงค์ของผม คือ การปูพื้นฐานที่ถูกต้อง ในการเตรียมตัวสอบ หรือเตรียมตัวติวเข้มทำข้อสอบอย่างถูกทิศทางนั่นเอง

ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอะไร ศรัทธาจะนำมาซึ่งความสำเร็จเสมอ..

อ.นเรศ สีละมัย

ท่านสามารถเรียนรู้วิธีการหาเงินล้านหรือความรู้อื่นๆที่จำเป็นผ่านช่องทางดังต่อไปนี้


 

ติวเข้มข้อสอบท้องถิ่น56 - 57(ตอน5)

ติวเข้มข้อสอบท้องถิ่นปี 56 - 57(ตอนที่ 5)

สวัสดีครับทุกท่าน ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ บทความที่นำเสนอการ ติวเข้มข้อสอบท้องถิ่น ปี 56 - 57 ในตอนที่ 5 กันนะครับ

ในบทความที่ผ่านมา ท่านได้เรียนรู้กระบวนการที่สำคัญที่จะทำให้ทุกท่านประสบความสำเร็จกันไปแล้ว ซึ่งมีอยู่ 5 ขั้นตอนหลัก คือ

     ขั้นตอนที่ 1 : ตั้งเป้าหมาย

     ขั้นตอนที่ 2 : เตรียมความพร้อม

     ขั้นตอนที่ 3 : วางแผนอย่างเป็นระบบ

     ขั้นตอนที่ 4 : ลงมือทำอย่างเป็นระบบ

     ขั้นตอนที่ 5 : ตรวจสอบ/ปรับปรุง/แก้ไข/พัฒนา

ซึ่งหลายๆท่าน คงได้ร่วมตั้งเป้าหมายตามที่ผมได้แนะนำไว้ ซึ่งเริ่มจากข้อความที่สำคัญ 4 ประโยค คือ

- ฉันกำลังจะเป็นข้าราชการในการสอบครั้งนี้
- ฉันกำลังมุ่งหน้าไปสู่การเป็นข้าราชการในการสอบครั้งนี้
- ฉันมีความพร้อมทุกอย่างที่จะเป็นข้าราชการในการสอบครั้งนี้
- ฉันเป็นข้าราชการในการสอบครั้งนี้แล้วฉันจะทำหน้าที่อย่างดีที่สุดเพื่อตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน

ทั้ง 4 ประโยคที่ผมยกมานี้ ผมเข้าใจว่าท่านคงจะ "เขียนมันติดไว้ในทุกๆที่ที่ท่านมองเห็นได้ทุกวันทุกเวลา" แล้ว

พร้อมทั้งได้เตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ เช่น


ข้อที่ 1 : เตรียมพร้อม ด้าน เงินทุน


ข้อที่ 2 : เตรียมพร้อม ด้าน เวลา


ข้อที่ 3 : เตรียมพร้อม ด้าน แรงงาน


ข้อที่ 4 : เตรียมพร้อม ด้าน แรงใจ

จากนั้น ท่านก็ได้เรียนรู้ ขั้นตอนที่  3 แห่งความสำเร็จ ซึ่งก็คือ การวางแผนอย่างเป็นระบบ โดยใช้กระบวนการ PDCA ซึ่งเป็นกระบวนการแห่งความสำเร็จ
P = Plan คือ การวางแผน
D = Do คือ การลงมือทำ
C = Check คือ การตรวจสอบ
A = Action คือ การปรับปรุง/พัฒนา

ดังนั้น วันนี้ ผมจะมาพูดถึงขั้นตอนที่สำคัญที่สุด คือ การลงมือทำ

ขั้นตอนที่ 4 : การลงมือทำอย่างเป็นระบบ


ในขั้นตอนนี้ เป็นตัวตัดสินความสำเร็จหรือความล้มเหลวของกระบวนการวางแผน หมายความว่า ถ้าท่านวางแผนมาอย่างดี กระบวนการลงมือทำ มันก็จะเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่มีการสะดุดใดๆทั้งสิ้น สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ "ท่านต้องมีการยืดหยุ่นในการลงมือทำแต่ยึดมั่นในเป้าหมาย"

หมายความว่า ในขั้นตอนของการลงมือทำนั้น มันมีหลายอย่างที่เราต้องทำ และสิ่งต่างๆมันไม่เป็นไปตามแผนการที่เราวางไว้ทั้ง 100% (แต่ก็ดีกว่าท่านลงมือทำโดยไม่ได้วางแผนอย่างแน่นอน)

ในขั้นตอนของการลงมือทำนี้

-  ท่านต้องบริหารเวลาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

-  แบบบันทึกต่างๆ ท่านต้องทำการบันทึกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

-  ท่านต้องมีวินัยในการลงมือทำ ชอบก็ต้องทำ ไม่ชอบก็ต้องทำ

-  ท่านต้องยืดหยุ่นในบางสถานการณ์ เช่น เจ็บป่วย หรือมีสิ่งสำคัญอย่างอื่นเข้ามาแทรก

-  ท่านต้องปรับทัศนคติให้เป็นเชิงบวกตลอดเวลา ท่านจะคิดลบไม่ได้เป็นอันขาด

-  ท่านต้องซื่อสัตย์ต่อตัวเอง กล่าวคือ ท่านวางแผนอย่างไร ท่านต้องทำตามระบบนั้น

-  ท่านต้องให้รางวัลตัวเองบ้าง เมื่อไหร่ที่ท่านสำเร็จตามแผนการที่ตั้งไว้

-  ท่านต้องบริหารเงินในมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

-  ท่านต้องบริหารเวลาให้มุ่งหน้าสู่เป้าหมายที่่ตั้งไว้ตลอดเวลา ไม่เอาเวลาไป กิน เล่น เที่ยวจนเสียงาน

-  ท่านต้องผ่อนคลายบ้างเป็นบางโอกาส ไปท่องเที่ยวบ้าง พักผ่อนหย่อนใจในบางครั้งเพื่อให้รางวัลตัวเอง เช่น อาจจะไปดูหนัง ฟังเพลง ให้จิตใจของท่านได้ผ่อนคลาย

-  ท่านต้องหมั่นทำบุญ รักษาศีล บำเพ็ญภาวนา นั่งสมาธิเพื่อชำระล้างจิตใจของท่านให้บริสุทธิ์

-  ท่านต้องทำตามแผนการที่ท่านวางแผนไว้ทั้งหมดด้วยความมุ่งมั่น จริงจัง มีเป้าหมายที่ชัดเจน

-  ท่านต้องท่องไว้เสมอว่า ท่านกำลังจะเป็นข้าราชการ และจะนำมาซึ่งความภาคภูมิใจไม่ว่าจะตัวท่านเอง คุณพ่อ คุณแม่ วงศ์ตระกูลของท่าน

ทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นสิ่งที่ท่านต้องลงมือทำอย่างสม่ำเสมอ  ไม่ควรที่ขี้เกียจในการปฏิบัติ เพราะมีแต่คนที่ขยันเท่านั้นที่จะประสพความสำเร็จ


บางคนคิดว่า ไม่สำคัญ บางคนคิดว่า ตัวเองพร้อมแล้ว มีความรู้เพียงพอแล้ว ซึ่ง ไม่จริงหรอกครับ ไม่มีความพร้อม 100% ไม่มีความสมบูรณ์แบบ 100%
 

สำหรับบทความนี้ ผมก็มี VDO มาฝากท่านเหมือนเคยครับ พร้อมแล้ว ก็คลิกดู VDO ได้เลยครับ




เป็นไงกันบ้างครับ ท่านไม่ต้องซีเรียสนะครับว่า บทความนี้ไม่ได้พาท่านเจาะลึกการสอบ แต่วัตถุประสงค์ของผม คือ การปูพื้นฐานที่ถูกต้อง ในการเตรียมตัวสอบ หรือเตรียมตัวติวเข้มทำข้อสอบอย่างถูกทิศทางนั่นเอง

ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอะไร ศรัทธาจะนำมาซึ่งความสำเร็จเสมอ..

อ.นเรศ สีละมัย

ท่านสามารถเรียนรู้วิธีการหาเงินล้านหรือความรู้อื่นๆที่จำเป็นผ่านช่องทางดังต่อไปนี้


 

ติวเข้มข้อสอบท้องถิ่น56 - 57(ตอน4)

ติวเข้มข้อสอบท้องถิ่นปี 56 - 57(ตอนที่ 4)

สวัสดีครับทุกท่าน ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ บทความที่นำเสนอการ ติวเข้มข้อสอบท้องถิ่น ปี 56 - 57 ในตอนที่ 4 กันนะครับ

ในบทความที่ผ่านมา ท่านได้เรียนรู้กระบวนการที่สำคัญที่จะทำให้ทุกท่านประสบความสำเร็จกันไปแล้ว ซึ่งมีอยู่ 5 ขั้นตอนหลัก คือ

     ขั้นตอนที่ 1 : ตั้งเป้าหมาย

     ขั้นตอนที่ 2 : เตรียมความพร้อม

     ขั้นตอนที่ 3 : วางแผนอย่างเป็นระบบ

     ขั้นตอนที่ 4 : ลงมือทำอย่างเป็นระบบ

     ขั้นตอนที่ 5 : ตรวจสอบ/ปรับปรุง/แก้ไข/พัฒนา

ซึ่งหลายๆท่าน คงได้ร่วมตั้งเป้าหมายตามที่ผมได้แนะนำไว้ ซึ่งเริ่มจากข้อความที่สำคัญ 4 ประโยค คือ

- ฉันกำลังจะเป็นข้าราชการในการสอบครั้งนี้
- ฉันกำลังมุ่งหน้าไปสู่การเป็นข้าราชการในการสอบครั้งนี้
- ฉันมีความพร้อมทุกอย่างที่จะเป็นข้าราชการในการสอบครั้งนี้
- ฉันเป็นข้าราชการในการสอบครั้งนี้แล้วฉันจะทำหน้าที่อย่างดีที่สุดเพื่อตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน

ทั้ง 4 ประโยคที่ผมยกมานี้ ผมเข้าใจว่าท่านคงจะ "เขียนมันติดไว้ในทุกๆที่ที่ท่านมองเห็นได้ทุกวันทุกเวลา" แล้ว

พร้อมทั้งได้เตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ เช่น


ข้อที่ 1 : เตรียมพร้อม ด้าน เงินทุน


ข้อที่ 2 : เตรียมพร้อม ด้าน เวลา


ข้อที่ 3 : เตรียมพร้อม ด้าน แรงงาน


ข้อที่ 4 : เตรียมพร้อม ด้าน แรงใจ

ดังนั้น วันนี้ ผมจะมาพูดถึง ขั้นตอนที่  3 แห่งความสำเร็จ ซึ่งก็คือ การวางแผนอย่างเป็นระบบ นั่นเอง
ขั้นตอนที่ 3 : การวางแผนอย่างเป็นระบบ

ขั้นตอนนี้ ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่ง เพราะมันจะช่วยย่นระยะเวลาของท่านลงไปเป็นอย่างมากเลยทีเดียว จนถึงขนาดว่า ย่นระยะเวลาแห่งความสำเร็จได้มากถึง "10 เท่า"กันเลยทีเดียว
ซึ่งในกระบวนการวางแผน ที่ดีที่สุด ณ ตอนนี้ คงจะหนีไม่พ้น กระบวนการ PDCA อีกแล้ว
P = Plan คือ การวางแผน
D = Do คือ การลงมือทำ
C = Check คือ การตรวจสอบ
A = Action คือ การปรับปรุง/พัฒนา

P = Plan การวางแผน
มาถึงตอนนี้ ท่านต้องวางแผนได้แล้วว่า  ท่านจะทำอะไร ยังไงบ้าง? เช่น 

- วางแผนเรื่องเงินทุนว่า จะนำไปใช้เพื่ออะไรบ้าง? ซื้อสื่อการเรียนรู้ ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ที่พัก...

- วางแผนเรื่องเวลา ท่านจะบริหารเวลาในการอ่านหนังสือ ทบทวนบทเรียน ทดลองทำแบบทดสอบ เข้าคอร์สอบรมสัมมนาที่จำเป็น...อย่างไรบ้าง?

- วางแผนเรื่องแรงงาน ว่า ท่านจะทุ่มเทเวลาไปเพื่ออะไรบ้าง จะพุ่งเป้าไปทางไหนก่อนระหว่าง การเรียนรู้ในสิ่งที่ท่านยังไม่รู้ หรือ พัฒนาในด้านที่ตัวเองถนัดซะก่อน...

- วางแผนเรื่องแรงใจ ว่า ท่านจะปรับทัศนคติของท่านอย่างไรให้เป็นเชิงบวก ท่านต้องการแรงใจหรือกำลังใจจากใครบ้าง?

D = Do คือ การลงมือทำ
ในขั้นตอนของการลงมือทำนี้ ท่านก็ต้องเริ่มออกแบบ หรือทำตารางว่า ท่านจะทำอะไรตอนไหน?
- ตอนเช้า ท่านจะเรียนรู้/พัฒนาตัวเองในเรื่องไหน?
- ตอนบ่าย ท่านจะเรียนรู้/พัฒนาตัวเองในเรื่องไหน?

- ตอนเย็น ท่านจะเรียนรู้/พัฒนาตัวเองในเรื่องไหน?

- ก่อนนอน ท่านจะทบทวนเนื้อหาบทเรียนเรื่องอะไร?

ทั้งหมดนี้ ควรจัดทำเป็นตารางออกมาให้ชัดเจน ว่าท่านจะทำอะไร ยังไง?
C = Check คือ การตรวจสอบ
ในเรื่องของการตรวจสอบนี้ เป็นสิ่งที่ท่านต้องออกแบบระบบการวัดหรือประเมินผล พูดง่ายๆก็คือ การกำหนดตัวชี้วัดออกมา เพื่อ "ดูความก้าวหน้าของกระบวนการลงมือทำ" ของท่าน ว่าเคลื่อนที่ไปถูกทิศทางหรือไม่? ไปติดขัดอยู่ที่ตรงไหนบ้าง  เช่น
- แบบบันทึกการอ่านหนังสือ

- แบบบันทึกการฟัง/ดู VDO

- แบบบันทึกการเข้าคอร์สอบรมสัมมนา

- แบบบันทึกการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต

- แบบบันทึกข้อคิด/ไอเดีย/ความรู้ใหม่ๆที่จำเป็นและเกี่ยวข้อง


A = Action คือ การปรับปรุง/พัฒนา
ในขั้นตอนนี้ ท่านต้องเตรียมพร้อมเพื่อการปรับปรุงแก้ไข เช่น เมื่อไม่เป็นไปตามตารางการปฏิบัติงานต่างๆ จะแก้ไขปัญหาอย่างไร? จะต้องพัฒนาด้านไหนเพิ่มเติม?
ทั้งหมดนี้ ออกแบบโดยยึดเป้าหมายเป็นหลักเพื่อการตรวจสอบความสมบูรณ์แบบในทุกๆขั้นตอน ซึ่งบางคนบอกว่า เป็นเรื่องที่ยุ่งยาก แต่ท่านเชื่อผมเถอะว่า "ลำบากวันนี้ เพื่อสบายในวันข้างหน้า" ดีกว่า "ทำตัวสบายๆในตอนนี้ แก่ตัวไปก็อยู่อย่างลำบาก" 
 

สำหรับบทความนี้ ผมก็มี VDO มาฝากท่านเหมือนเคยครับ พร้อมแล้ว ก็คลิกดู VDO ได้เลยครับ




เป็นไงกันบ้างครับ ท่านไม่ต้องซีเรียสนะครับว่า บทความนี้ไม่ได้พาท่านเจาะลึกการสอบ แต่วัตถุประสงค์ของผม คือ การปูพื้นฐานที่ถูกต้อง ในการเตรียมตัวสอบ หรือเตรียมตัวติวเข้มทำข้อสอบอย่างถูกทิศทางนั่นเอง

ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอะไร ศรัทธาจะนำมาซึ่งความสำเร็จเสมอ..

อ.นเรศ สีละมัย

ท่านสามารถเรียนรู้วิธีการหาเงินล้านหรือความรู้อื่นๆที่จำเป็นผ่านช่องทางดังต่อไปนี้


 

ติวเข้มข้อสอบท้องถิ่น56 - 57(ตอน3)

ติวเข้มข้อสอบท้องถิ่นปี 56 - 57(ตอนที่ 3)

สวัสดีครับทุกท่าน ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ บทความที่นำเสนอการ ติวเข้มข้อสอบท้องถิ่น ปี 56 - 57 ในตอนที่ 3 กันนะครับ

ในบทความที่ผ่านมา ท่านได้เรียนรู้กระบวนการที่สำคัญที่จะทำให้ทุกท่านประสบความสำเร็จกันไปแล้ว ซึ่งมีอยู่ 5 ขั้นตอนหลัก คือ

     ขั้นตอนที่ 1 : ตั้งเป้าหมาย

     ขั้นตอนที่ 2 : เตรียมความพร้อม

     ขั้นตอนที่ 3 : วางแผนอย่างเป็นระบบ

     ขั้นตอนที่ 4 : ลงมือทำอย่างเป็นระบบ

     ขั้นตอนที่ 5 : ตรวจสอบ/ปรับปรุง/แก้ไข/พัฒนา

ซึ่งหลายๆท่าน คงได้ร่วมตั้งเป้าหมายตามที่ผมได้แนะนำไว้ ซึ่งเริ่มจากข้อความที่สำคัญ 4 ประโยค คือ

- ฉันกำลังจะเป็นข้าราชการในการสอบครั้งนี้
- ฉันกำลังมุ่งหน้าไปสู่การเป็นข้าราชการในการสอบครั้งนี้
- ฉันมีความพร้อมทุกอย่างที่จะเป็นข้าราชการในการสอบครั้งนี้
- ฉันเป็นข้าราชการในการสอบครั้งนี้แล้วฉันจะทำหน้าที่อย่างดีที่สุดเพื่อตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน
ทั้ง 4 ประโยคที่ผมยกมานี้ ผมเข้าใจว่าท่านคงจะ "เขียนมันติดไว้ในทุกๆที่ที่ท่านมองเห็นได้ทุกวันทุกเวลา" แล้ว

ในบทความนี้ ผมจะพาท่านไปสู่ขั้นตอนที่ 2 ของกระบวนการแห่งความสำเร็จ ซึ่งก็คือ "การเตรียมความพร้อม" นั่นเอง

ขั้นตอนที่ 2 : การเตรียมความพร้อม

เป็นขั้นตอนที่กำหนดทิศทางที่ถูกต้องให้กับทุกท่าน อย่างที่ท่านได้เรียนรู้กันไปแล้วว่า "ทิศทาง สำคัญกว่า ความเร็ว" ซึ่งหมายความว่า ถ้าท่านเอาแต่ มุ่งมั่น ทุ่มเท อย่างหนัก แต่ไปไม่ถูกทิศทาง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำมามันก็จะ "สูญเปล่า" ไปในทันที

ก่อนที่ท่านจะไปเรียนรู้ ว่าท่านต้องเตรียมอะไรบ้าง? ผมต้องอธิบายคำนี้กันซะก่อน ว่า "ทำไมท่านถึงต้องเตรียมพร้อม??"

คำตอบก็คือ อาชีพข้าราชการ ไม่ว่าจะสายงานไหน มีสิทธิประโยชน์ต่างๆมากมาย อาทิเช่น

- สิทธิ์ในการรักษาพยาบาลฟรี ทั้งพ่อ แม่ ลูก สามี/ภรรยา ทั้งหมดนี้ได้รับสิทธิ์ในการดูแลเรื่องการรักษาพยาบาลเป็นอย่างดี


- สิทธิ์ในการได้รับความมั่นคงในอาชีพ เพราะเงินเดือนข้าราชการ มีแต่ขึ้นกับขึ้นทุกปี สามารถมีความมั่นคง เลี้ยงดูครอบครัวได้จนกว่าจะเกษียณ มีเงินประจำตำแหน่งมากมาย


- สิทธิ์ในการได้รับสินเชื่อจากหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าท่านจะกู้สินเชื่ออะไร บ้าน รถยนต์ ฯลฯ


- สิทธิ์ในการได้รับเกียรติในสังคม มีคนเคารพ นับถือ ยกย่อง เชิดหน้าชูตาให้กับวงศ์ตระกูล


- และอื่นๆอีกมากมาย

เป็นไงครับ ทั้งหมดนี้ เป็นคำตอบว่า "ทำไมท่านถึงต้องเตรียมพร้อม?" ประเด็นต่อมา คือ "ถ้าท่านไม่เตรียมพร้อม จะเกิดอะไรขึ้น?"

คำตอบง่ายมาก คือ "ท่านก็แพ้ คนอื่นที่เขาเตรียมพร้อมมากกว่า" นั่นเองครับ

ยิ่งท่านแพ้ ท่านยิ่งไม่มีโอการรับราชการซักที แล้วท่านจะมีสิทธิ์ต่างๆที่ควรจะเป็นได้อย่างไร??

ทีนี้ ก็ถึงเวลาที่ท่านต้องรู้แล้วว่า "ท่านต้องเตรียมอะไรบ้าง?"

ข้อที่ 1 : ท่านต้องเตรียมเงินทุน

ถูกต้องแล้วครับ เงินทุนเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในการเข้ารับราชการ ซึ่งผมไม่ได้บอกให้ท่านใช้เงินทุนในการทุตจริตนะครับ เงินทุนในที่นี้เพื่อ

- เพื่อสมัครสอบ และดำเนินการสอบ เช่น ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าอาหาร...

- เพื่อเรียนรู้เรื่องราวที่จำเป็น เช่น ซื้อหนังสือ VDO DVD เข้าคอร์สอบรมในเรื่องที่จำเป็น...

- เพื่อเป็นค่าอาหารในขณะที่ท่านเรียนรู้ เพราะท่านจะมุ่งเป้าไปที่การอ่านหนังสือ หรือเข้าอบรมในเรื่องที่ท่านไม่รู้นั่่นเอง

- เพื่ออื่นๆที่จำเป็น

ข้อที่ 2 : ท่านต้องเตรียมเวลา

ซึ่งเวลา เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างมาก เพราะ "เวลามีอยู่อย่างจำกัด" ใช้แล้วหมดไป ไม่สามารถย้อนกลับคืนมาแก้ไขอะไรได้เลย  โดยท่านต้องเตรียมเวลาสำหรับ..

- การอ่านหนังสือ ทบทวนบทเรียน

- การเข้าคอร์สอบรมต่างๆที่จำเป็น

- การพบปะพูดคุยกับท่านผู้รู้

- การสืบค้นข้อมูลที่จำเป็น....

ข้อที่ 3 : ท่านต้องเตรียมแรงงาน

ซึ่งในประเด็นนี้ ท่านต้องดูแลรักษาสุขภาพของท่านให้ดี เพราะถ้าสุขภาพท่านไม่ดี สมองท่านก็จะไม่ดีตามไปด้วย และนี่เองเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้เรื่องอื่น ท่านต้องเตรียมร่างกายของท่านเพื่อ

- ทุ่มเทอ่านและทดลองทำข้อสอบอย่างหนัก.

- ทุ่มเทสืบค้นข้อมูลอย่างหนักเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ ใหม่สดเสมอ

ข้อที่ 4 : ท่านต้องเตรียมแรงใจ

ในหัวข้อนี้ เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด เพราะ "หัวใจที่แข็งแกร่งเท่านั้นที่จะพิชิตอุปสรรคต่างๆได้สำเร็จ" ดังนั้น ท่านต้องมีแรงใจ มีกำลังใจจากคนรอบข้าง เพื่อเป็นตัวหนุนให้ท่านสอบผ่าน  และที่สำคัญคือ ท่านต้องมีทัศนคติที่ดี ทัศนคติที่เป็นบวก เพราะมีแต่คนที่คิดบวกเท่านั้น ที่ประสบความสำเร็จ

ซึ่งจริงๆแล้ว "ไม่มีความล้มเหลว มีแต่วิธีการที่ไม่ถูกต้องสมบูรณ์เท่านั้น"

ถ้าท่านเข้าใจอย่างนี้ ท่านก็จะไม่ได้ท้อถอย หรือหมดเรี่ยวแรง หมดกำลังใจไปซะก่อน

สำหรับบทความนี้ ผมก็มี VDO มาฝากท่านเหมือนเคยครับ พร้อมแล้ว ก็คลิกดู VDO ได้เลยครับ




เป็นไงกันบ้างครับ ท่านไม่ต้องซีเรียสนะครับว่า บทความนี้ไม่ได้พาท่านเจาะลึกการสอบ แต่วัตถุประสงค์ของผม คือ การปูพื้นฐานที่ถูกต้อง ในการเตรียมตัวสอบ หรือเตรียมตัวติวเข้มทำข้อสอบอย่างถูกทิศทางนั่นเอง

ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอะไร ศรัทธาจะนำมาซึ่งความสำเร็จเสมอ..

อ.นเรศ สีละมัย

ท่านสามารถเรียนรู้วิธีการหาเงินล้านหรือความรู้อื่นๆที่จำเป็นผ่านช่องทางดังต่อไปนี้


 

ติวเข้มข้อสอบท้องถิ่น56 - 57(ตอน2)

ติวเข้มข้อสอบท้องถิ่นปี 56 - 57(ตอนที่ 2 )

สวัสดีครับทุกท่าน ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่การ ติวเข้มข้อสอบท้องถิ่นปี 56 - 57 ในตอนที่ 2 กันนะครับ

บทความที่แล้ว ท่านเรียนรู้ไปแล้วว่า ท่านต้องทำตาม "กระบวนการแห่งความสำเร็จ" ซึ่งมีอยู่ 5 ขั้นตอนที่สำคัญ

     ขั้นตอนที่ 1 : ตั้งเป้าหมาย

     ขั้นตอนที่ 2 : เตรียมความพร้อม

     ขั้นตอนที่ 3 : วางแผนอย่างเป็นระบบ

     ขั้นตอนที่ 4 : ลงมือทำอย่างเป็นระบบ

     ขั้นตอนที่ 5 : ตรวจสอบ/ปรับปรุง/แก้ไข/พัฒนา

ทั้ง 5 ขั้นตอนนี้ ทุกท่านได้เริ่มออกแบบระบบขึ้นมารึยัง? ท่านได้เริ่มลงมือทำรึยัง?

ถ้ายังไม่ทำ ท่านจะประสบความสำเร็จได้ไง??????

ดังนั้น ในวันนี้ ผมจะพาทุกท่านลงมือทำตามผมไปทีละขั้นตอนกันเลยครับ

ขั้นตอนที่ 1 : ตั้งเป้าหมาย

สิ่งที่ท่านต้องทำตอนนี้คือ "เขียนเป้าหมายท่านออกมา" ท่านอย่าเพิ่งปฏิเสธกิจกรรมนี้เลย 

ท่านรู้รึไม่ว่า คนที่เขาประสบความสำเร็จ สอบได้ ได้รับเข้าบรรจุเป็นข้าราชการ เขามีวิธีการปฏิบัติตัวที่ไม่ธรรมดา  ไม่ว่าจะเป็นการ

- ทุ่มเทอ่านหนังสือไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน

- ทุ่มเททำตัวอย่างข้อสอบแบบจริงๆจังๆ

- พุ่งความสนใจไปที่เป้าหมายของเขาโดยใช้พลังทั้งหมดที่มีอยู่

- ทุ่มเทแรงกายแรงใจของเขาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างเอาเป็นเอาตาย

- ฯลฯ

คำถามคือ ท่านทำถึงขนาดนี้รึยัง?

ประเด็นที่ผมจะนำเสนอก็คือ "ทำไมเขาถึงทำแบบนั้นได้"

คำตอบ คือ "เขามีความชัดเจนในเรื่องเป้าหมายของเขา" นั่นเอง

ดังนั้น เพื่อความชัดเจน "ท่านต้องทำตามที่ผมบอก" คือ

เขียนเป้าหมายของท่านออกมา... เช่น

- ฉันกำลังจะเป็นข้าราชการในการสอบครั้งนี้

- ฉันกำลังมุ่งหน้าไปสู่การเป็นข้าราชการในการสอบครั้งนี้

- ฉันมีความพร้อมทุกอย่างที่จะเป็นข้าราชการในการสอบครั้งนี้

- ฉันเป็นข้าราชการในการสอบครั้งนี้แล้วฉันจะทำหน้าที่อย่างดีที่สุดเพื่อตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน

ทั้ง 4 ประโยคที่ผมยกมานี้ ผมต้องการให้ท่าน "เขียนมันติดไว้ในทุกๆที่ที่ท่านมองเห็นได้ทุกวันทุกเวลา"

ไม่ว่าจะติดมันไว้ที่ 

- โต๊ะทำงาน
- กระเป๋าสตางค์
- ห้องนอน
- ห้องน้ำ
- ห้องรับแขก

ท่านจงทำขั้นตอนนี้และใช้ประโยค 4 ประโยคนี้ หรือ เพิ่มประโยคอื่นๆเข้าไปตามแนวคิดของท่าน

ยิ่งท่านอ่านมันทุกวัน เห็นมันทุกวัน มันจะทำให้ท่านมีความชัดเจนมากกกกกกกกก

ประเด็นคือ "ยิ่งเป้าหมายชัดเจน ท่านก็ยิ่งจะประสบความสำเร็จ"

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าท่านกำลังขับรถกำลังมุ่งหน้าไปที่ไหนสักแห่ง แต่ถ้ามีฝนตกหนัก มีลมพายุ มีเมฆหมอกปกคลุม ทำให้มองไม่เห็นถนนหนทางเลย ท่านจะกล้าเดินทางไปข้างหน้าได้หรือไม่???

คำตอบ คือ ท่านไม่กล้าเดินทางต่อไปอย่างแน่นอน เพราะท่านมองไม่เห็นถนน นั่นเท่ากับว่า ท่านกำลังไม่มีความชัดเจนในเป้าหมาย นั่นเอง

นั่นจึงเป็นคำตอบว่า "เป้าหมายของท่านต้องชัดเจน" นั่นเอง

เมื่อท่านมีเป้าหมายที่ชัดเจน มันจะนำพาท่านไปสู่ขั้นตอนที่ 2 อย่างอัตโนมัติ ซึ่งก็คือ ขั้นตอนของ "การเตรียมความพร้อม" นั่นเอง

ในบทความตอนที่ 2 นี้ ผมก็มี VDO มาฝากท่านอีกเช่นเคย เชิญคลิกที่ VDO ด้านล่างได้เลยครับ


เป็นยังไงกันบ้างครับ อย่าลืมติดตามบทความที่ 3 ซึ่งผมจะพาท่านไปเรียนรู้ขั้นตอนที่ 2 คือ การเตรียมความพร้อม ซึ่งท่านต้องเตรียมอะไรบ้าง ถึงจะทำให้ท่านสามารถประสบความสำเร็จในการทำ "ข้อสอบติวเข้ม" เพื่อรับราชการส่วนท้องถิ่นในครั้งนี้

ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอะไร ศรัทธาจะนำมาซึ่งความสำเร็จ

อ.นเรศ สีละมัย

ทุกท่านสามารถเรียนรู้วิธีหาเงินล้าน หรือความรู้อื่นๆได้ที่



ติวเข้มข้อสอบท้องถิ่น56 - 57(ตอน1)

 ติวเข้มข้อสอบท้องถิ่น 56 - 57 (ตอนที่ 1)

สวัสดีครับทุกท่าน ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ การติวเข้มสอบท้องถิ่น ปี 56 - 57 นะครับ

ในตอนที่ 1 นี้ ผมจะพาท่านไปเรียนรู้พื้นฐานในการเตรียมตัวสอบกันก่อนนะครับ

ทำไมต้องเรียนรู้พื้นฐาน?

คำตอบก็เพื่อให้ท่านเดินไปอย่างถูกทิศทางนั่นเองครับ

สมดังคำว่า "ทิศทาง สำคัญกว่า ความเร็ว" นั่นเอง

เพราะยิ่งท่านสปีดตัวเองเท่าไหร่ แต่ถ้าไปผิดทิศทาง ท่านก็จะไม่สามารถไปถึงจุดหมายปลายทางได้ นั่นเอง

เช่น สมมุติ ตอนนี้ ท่านอยู่กรุงเทพฯ ต้องการเดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ท่านกลับมุ่งหน้าไปภาคเหนืออย่างมุ่งมั่น ทุ่มเทอย่างเต็มที่ แบบนี้ ท่านจะสามารถไปถึงจังหวัดอุบลฯได้รึไม่?  คำตอบ คือ ไม่มีทางที่จะเป็นไปได้เลยนั่นเอง

ดังนั้น ในตอนที่ 1 นี้ ผมจึงต้องปูพื้นฐานให้กับท่านซะก่อน ซึ่งสิ่งที่ผมจะบอกทุกท่าน ณ ตอนนี้ คือ กระบวนการแห่งความสำเร็จ นั่นเอง

ซึ่งกระบวนการแห่งความสำเร็จนี้ มีขั้นตอนที่สำคัญคือ

ขั้นตอนที่ 1 : การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน  

ซึ่งเป้าหมายที่ท่านต้องตั้งคือ สอบได้อยู่ในอันดับ 1 - 10 เพราะมันเป็นโอกาสที่ท่านจะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการอย่างแน่นอน

ขั้นตอนที่ 2 : การเตรียมความพร้อม

ขั้นตอนนี้ เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เพราะถ้าท่านมีเป้าหมายแล้ว ไม่เตรียมความพร้อมอะไรเลย ท่านไม่มีทางที่จะไปถึงเป้าหมายอย่างแน่นอน

ขั้นตอนที่ 3 : การวางแผนอย่างเป็นระบบ

ขั้นตอนนี้จะเป็นกระบวนการที่ท่านจะไปให้ถึงเป้าหมาย คือ สอบได้อันดับ 1 - 10 นั่นเอง ซึ่งการวางแผนที่ถูกต้อง ประกอบไปด้วยขั้นตอน 4 ขั้นตอน คือ  PDCA

P = Plan คือ การวางแผน
D = Do คือ การลงมือทำ
C = Check คือ การตรวจสอบ
A = Action คือ การปรับปรุง/พัฒนา

ขั้นตอนที่ 4 : การลงมือตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ

ขั้นที่ 4 นี้ เป็นหัวใจของความสำเร็จ ไม่ว่าแผนการของท่านจะสวยเลิศหรูสักปานใด ถ้าท่านไม่ลงมือทำ ท่านก็ไม่มีทางที่จะประสบความสำเร็จได้ถ้าปราศจาคการ "ลงมือทำ"

ขั้นตอนที่ 5 : ตรวจสอบ/ปรับปรุง/แก้ไข/พัฒนา

เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่สำคัญ เพื่อประเมินว่า ในแต่ละวัน ท่านเคลื่อนเข้าหาเป้าหมายรึไม่อย่างไร????นั่นเอง

ทั้ง 5 ขั้นตอนนี้ เป็นกระบวนการแห่งความสำเร็จ ซึ่งไม่ว่าท่านจะทำอะไร ถ้าเอากระบวนการนี้ไปจับ ท่านก็จะประสบความสำเร็จได้ 100%

นี่คือ VDO ติวเข้มข้อสอบท้องถิ่นปี 56 - 57


เป็นไงกันบ้างครับ ท่านไม่ต้องซีเรียสนะครับว่า บทความนี้ไม่ได้พาท่านเจาะลึกการสอบ แต่วัตถุประสงค์ของผม คือ การปูพื้นฐานที่ถูกต้อง ในการเตรียมตัวสอบ หรือเตรียมตัวติวเข้มทำข้อสอบอย่างถูกทิศทางนั่นเอง

ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอะไร ศรัทธาจะนำมาซึ่งความสำเร็จเสมอ..

อ.นเรศ สีละมัย

ท่านสามารถเรียนรู้วิธีการหาเงินล้านหรือความรู้อื่นๆที่จำเป็นผ่านช่องทางดังต่อไปนี้